วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันจันทร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 3 อุปกรณ์ประกอบของคอมพิวเตอร์

1.เมนบอร์ด (Main board)
แผ่นวงจรไฟฟ้าแผ่นใหญ่ที่รวมเอาชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญๆมาไว้ด้วยกัน ซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุม การทำงานของ อุปกรณ์ต่างๆ ภายในพีชีทั้งหมด มีลักษณะเป็นแผ่น รูปร่างสี่เหลี่ยมแผ่นที่ใหญ่ที่สุดในพีชี ที่จะรวบรวมเอาชิปและไอชี (IC = Integrated Circuit) รวมทั้ง การ์ดต่อพ่วงอื่นๆ เอาไว้ด้วยกันบนบอร์ดเพียงอันเดียวเครื่องพีชีทุกเครื่องไม่สามารถทำงาน ได้ถ้าขาดเมนบอร์ด
Mainboard

2.ซีพียู (CPU)
ซีพียูหรือหน่วยประมวลผลกลาง เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โปรเซสเซอร์ (Processor) หรือ ชิป (chip) นับเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญมากที่สุดของฮาร์ดแวร์ เพราะมีหน้าที่ในการประมวลผลจากข้อมูลที่ผู้ใช้ป้อน เข้ามาทางอุปกรณ์นำเข้าข้อมูลตามชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ผู้ใช้ต้องการใช้งาน หน่วยประมวลผลกลาง ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วน คือ 1) หน่วยคำนวณและตรรกะ (Arithmetic & Logical Unit: ALU) หน่วยคำนวณตรรกะ ทำหน้าที่เหมือนกับเครื่องคำนวณอยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยทำงานเกี่ยวกับการคำนวณทางคณิตศาสตร์ เช่น บวก ลบ คูณ หาร อีกทั้งยังมีความสามารถอีกอย่างหนึ่งที่เครื่องคำนวณธรรมดาไม่มี คือ ความสามารถในเชิงตรรกะศาสตร์ หมายถึง ความสามารถในการเปรียบเทียบตามเงื่อนไขและกฎเกณฑ์ทางคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้คำตอบออกมาว่าเงื่อนไข นั้นเป็น จริง หรือ เท็จ ได้ 2) หน่วยควบคุม (Control Unit) หน่วยควบคุม ทำหน้าที่ควบคุมลำดับขั้นตอนการประมวลผล รวมไปถึงการประสานงานกับอุปกรณ์นำเข้าข้อมูล อุปกรณ์แสดงผล และหน่วยความจำสำรองด้วย ซีพียูที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ได้แก่ Pentium III , Pentium 4 , Pentium M (Centrino) , Celeron , Dulon , Athlon






3.การ์ดแสดงผล (Display Card)
การ์ดแสดงผลใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่ได้รับมาจากซีพียู โดยที่การ์ดบางรุ่นสามารถประมวลผลได้ในตัวการ์ด ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระการประมวลผลให้ซีพียู จึงทำให้การทำงานของคอมพิวเตอร์นั้นเร็วขึ้นด้วย ซึ่งตัวการ์ดแสดงผลนั้นจะมีหน่วยความจำในตัวของมันเอง ถ้าตัวการ์ดมีหน่วยความจำมาก ก็จะรับข้อมูลจากซีพียูได้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การแสดงผลบนจอภาพมีความเร็วสูงขึ้นด้วย
Display Card หลักกันทำงานพื้นฐานของการ์ดแสดงผลจะเริ่มต้นขึ้น เมื่อโปรแกรมต่างๆ ส่งข้อมูลมาประมวลผลที่ ซีพียูเมื่อซีพียูประมวลผล เสร็จแล้ว ก็จะส่งข้อมูลที่จะนำมาแสดงผลบนจอภาพมาที่การ์ดแสดงผล จากนั้น การ์ดแสดงผล ก็จะส่งข้อมูลนี้มาที่จอภาพ ตามข้อมูลที่ได้รับมา การ์ดแสดงผลรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาส่วนใหญ่ ก็จะมีวงจร ในการเร่งความเร็วการแสดงผลภาพสามมิติ และมีหน่วยความจำมาให้มากพอสมควร





4.แรม (RAM)
RAM ย่อมาจากคำว่า Random-Access Memory เป็นหน่วยความจำหลักแต่ไม่ถาวร ซึ่งจะต้องมีไฟมาหล่อเลี้ยงอุปกรณ์ตลอดในการทำงาน โดยถ้าเกิดไฟฟ้ากระพริบหรือดับ ข้อมูลที่ถูกบันทึกไว้ในหน่วยความจำจะหายไปทันที
SDRAM DDR-RAM RDRAM โดยหลักการทำงานคร่าวๆ ของแรมนั้นเริ่มต้นที่รับข้อมูลจากผู้ใช้ผ่านอุปกรณ์ Input จากนั้นก็จะส่งข้อมูลไปยัง CPU ในการประมวลผล เมื่อ CPU ประมวลผลเสร็จแล้ว แรมจะรับข้อมูลที่ได้รับการประมวลผลแล้ว ออกไปยังอุปกรณ์ Output ต่อไป โดยหน่วยความจำแรมที่ใช้ในปัจจุบันมีหลายชนิด เช่น SDRAM, DDR-RAM





5.ฮาร์ดดิสก์ (Hard disk)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือโปรแกรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยฮาร์ดดิสค์จะมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมที่มีเปลือกนอก เป็นโลหะแข็ง และมีแผงวงจรสำหรับการควบคุมการทำงานประกบอยู่ที่ด้านล่าง พร้อมกับช่องเสียบสายสัญญาณและสายไฟเลี้ยง ส่วนประกอบภายในจะถูกปิดผนึกไว้อย่างมิดชิด โดยฮาร์ดดิสค์ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยแผ่นจานแม่เหล็ก(platters) สองแผ่นหรือมากกว่ามาจัด เรียงอยู่บนแกนเดียวกันเรียก Spindle ทำให้แผ่นแม่เหล็กหมุนไปพร้อม ๆ กัน จากการขับเคลื่อนของมอเตอร์ แต่ละหน้าของแผ่นจานจะมีหัวอ่านเขียนประจำเฉพาะ โดยหัวอ่านเขียนทุกหัวจะเชื่อมติดกันคล้ายหวี สามารถเคลื่อนเข้าออกระหว่างแทร็กต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งอินเตอร์เฟสของฮาร์ดดิสก์ที่ใช้ในปัจจุบัน มีอยู่ 3 ชนิดด้วยกัน - IDE (Integrated Drive Electronics) เป็นระบบของ ฮาร์ดดิสก์อินเตอร์เฟสที่ใช้กันมากในปัจจุบันนี้ การต่อไดร์ฟฮาร์ดดิสก์แบบ IDE จะต่อผ่านสายแพรและคอนเน็คเตอร์จำนวน 40 ขาที่มีอยู่บนเมนบอร์ด ส่วนใหญ่แล้วใน 1 คอนเน็คเตอร์ จะสามารถต่อฮาร์ดดิสก์ได้ 2 ตัวและบนเมนบอร์ด


Serial ATA (Advanced Technology Attachment)เป็นอินเตอร์เฟสแบบใหม่ เปิดตัวครั้งแรกในวันที่ 26 มิถุนายน 2545 งาน PC Expo ใน New York มีความเร็วในเข้าถึงข้อมูลถึง 150 Mbytes ต่อ วินาที และให้ผลตอบสนองในการทำงานได้เร็วมากในส่วนของ extreme application เช่น Game Home Video และ Home Network Hub โดยเป็นอินเตอร์เฟสที่จะมาแทนที่ของ IDE ในปัจจุบัน




6.คีย์บอร์ด (Keyboard)
เป็นอุปกรณ์ในการรับข้อมูลที่สำคัญที่สุด มีลักษณะคล้ายแป้นพิมพ์ ของเครื่องพิมพ์ดีด มีจำนวนแป้น 84 - 105 แป้น ขึ้นอยู่กับแป้นที่เป็น กลุ่มตัวเลข (Numeric keypad) กลุ่มฟังก์ชัน (Function keys) กลุ่มแป้นพิเศษ (Special-purpose keys) กลุ่มแป้นตัวอักษร (Typewriter keys) หรือกลุ่มแป้นควบคุมอื่น ๆ (Control keys) ซึ่งการสั่งงานคอมพิวเตอร์และการทำงานหลายๆ อย่างจำเป็นต้องใช้แป้นพิมพ์เป็นหลัก


7.เมาส์ (Mouse)
อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมรองจากคีย์บอร์ด เมาส์จะช่วยในการบ่งชี้ตำแหน่งว่าขณะนี้กำลังอยู่ ณ จุดใดบนจอภาพ เรียกว่า "ตัวชี้ตำแหน่ง (Pointer)" ซึ่งอาศัยการเลื่อนเมาส์ แทนการกดปุ่มบังคับทิศทางบนคีย์บอร์ด



8.พาวเวอร์ซัพพลาย (Power Supply)
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับชิ้นส่วนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าคอมพิวเตอร์มีอุปกรณ์ต่อพวงเยอะๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์ ดีวีดีไดรฟ์ก็ควรเลือกพาวเวอร์ซัพพลายที่มีจำนวนวัตต์สูง เพื่อให้สามารถ จ่ายกระแสไฟได้เพียงพอ

9.จอภาพ (Monitor)
เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะจะติดต่อโดยตรงกับผู้ใช้ ชนิดของจอภาพที่ใช้ในเครื่องพีซีโดยทั่วไปจะแบ่งได้เป็น 2 ชนิด
- จอซีอาร์ที (CRT : Cathode Ray Tube) โดยมากจะพบในคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ซึ่งลักษณะ จอภาพชนิดนี้จะคล้ายโทรทัศน์ ซึ่งจะใช้หลอดสุญญากาศ
จอแบบ CRT
การทำงานของจอประเภทนี้จะทำงานโดย อาศัยหลอดภาพ ที่สร้างภาพโดยการยิงลำแสงอิเล็กตรอนไปยังที่ผิวหน้าจอ ที่มีสารพวกสารประกอบของฟอสฟอรัส ฉาบอยู่ที่ผิว ซึ่งจะเกิดภาพขึ้นมาเมื่อสารเหล่านี้เกิดการเรืองแสงขึ้นมา เมื่อมีอิเล็กตรอนมากระทบ ซึ่งในส่วยของจอแบบ Shadow Mask นั้น จะมีการนำโลหะที่มีรูเล็กๆ มาใช้ในการกำหนดให้แสงอิเล็กตรอนนั้นยิงมาได้ถูกต้อง และแม่นยำ ซึ่งระยะห่างระหว่างรูนี้เราเรียกกันว่า Dot Pitch ซึ่งในรูนี้จะมีสารประกอบของฟอสฟอรัสวางเรียงกันอยู่เป็น 3 จุด 3 มุม โดยแต่ละจุดจะเป็นสีของแม่สีนั้นก็คือ สีแดง สีเขียว และสีน้ำเงิน ซึ่งแต่ละจุดนี้เราเรียกว่า Triad ในส่วนของจอแบบ Trinitron นั้นจะมีการทำงานที่เหมือนกันแต่ต่างกันที่ ไม่ได้ใช้โลหะเป็นรูแต่จะใช้ โลหะที่เป็นเส้นเล็กๆ ขึงพาดไปตาม แนวตั้ง เพื่อที่จะให้อิเล็คตรอนนั้นตกกระทบกับผิวจอที่มีสารประกอบของฟอสฟอรัสได้มากขึ้น สำหรับจอ Trinitron ในปัจจุบันนี่ได้มีการพัฒนาให้มีความแบนราบมากขึ้นซึ่งจอแบบนี้จะเรียกกันว่า FD Trinitron (Flat Display Trinitron) ซึ่งมีมากมายในปัจจุบันและจะเข้ามาแทนที่จะแบบเดิมๆ อีกทั้งราคายังถูกลงเป็นอย่างมากด้วย
- จอแอลซีดี (LCD : Liquid Crystal Display) ซึ่งมี ลักษณะแบนราบ จะมี ขนาดเล็กและบาง เมื่อเปรียบเทียบกับจอภาพแบบซีแอลที
จอแบบ LCD
การทำงานนั้นจะไม่เหมือนกับจอแบบ CRT แม้สักนิดเดียว ซึ่งการแสดงภาพนั้นจะซับซ้อนกว่ามาก การทำงานนั้นอาศัยหลักของการใช้ความร้อนที่ได้จากขดลวด มาทำการเปลี่ยนและ บังคับให้ผลึกเหลวแสดงสีต่างๆ ออกมาตามที่ต้องการซึ่งการแสดงสีนั้นจะเป็นไปตามที่กำหนด ไว้ตามมาตรฐานของแต่ละ บริษัท จึงทำให้จอแบบ LCD มีขนาดที่บางกว่าจอ CRT อยู่มาก อีกทั้งยังกินไฟน้อยกว่า จึงทำให้ผู้ผลิตนำไปใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์แบบเคลื่อนที่โน้ตบุ๊ค และเดสโน้ต ซึ่งทำให้เครื่องมีขนาดที่บางและเล็กสามารถพกพาไปได้สะดวก ในส่วนของการใช้งานกับเครื่องเดสก์ท็อปทั่วไป ก็มีซึ่งจอแบบ LCD นี้จะมีราคาที่แพงกว่าจอทั่วไปอยู่ประมาณ 2 เท่าของ ราคาในปัจจุบัน




10.เคส (Case)
เคส คือ โครงหรือกล่องสำหรับประกอบอุปกรณ์ต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ไว้ภายใน การเรียกชื่อ และขนาด ของเคสจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งในปัจจุบันมีหลายแบบที่นิยมกัน แล้วแต่ผู้ซื้อจะเลือกซื้อตามความเหมาะสม ของงาน และสถานที่นั้น


วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ข่าว สาร IT Computer

ไมโครซอฟท์อัดงบการตลาดแบบดิจิตอล 40-50% จากงบกลาง เพื่อโปรโมตระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ 7 ที่นำออกสู่ตลาดในเดือนต.ค.นี้ เชื่อจะเป็นตัวช่วยกระตุ้นยอดขายพีซีได้ นางสาวลิซ่า ลัม ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด บริษัท ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า หลังจากที่มีกระแสข่าวเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการล่าสุดของไมโครซอฟท์ชื่อ วินโดวส์ 7 ตั้งแต่ปีที่แล้วเป็นต้นมา ไมโครซอฟท์ได้ทุ่มเทอย่างหนักในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับคุณสมบัติใหม่ๆ ของวินโดวส์ 7 ที่จะเพิ่มประโยชน์แก่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก นอจากการใช้สื่อประชาสัมพันธ์และสื่อโฆษณาในรูปแบบทั่วๆ ไป รวมถึงเทคนิคทางการตลาดอื่นๆ แล้ว ไมโครซอฟท์ ประเทศไทยยังได้ใช้สื่อออนไลน์เข้ามาเพิ่มเติมเพื่อช่วยในการสร้างกระแสตื่นตัวให้กับผู้ใช้งานในไทย เพราะความนิยมต่อสื่อในรูปแบบเครือข่ายสังคมออนไลน์เพิ่มการรับรู้ขึ้นอย่างรวดเร็วทั้งในไทยและทั่วโลก “สื่อดิจิตอลเป็นเครื่องมือการตลาดที่ทรงพลัง เราจึงตัดสินใจต่อยอดการใช้สื่อออกไปยังสื่อที่เป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์” สำหรับวินโดวส์ 7 ไมโครซอฟท์เตรียมการตลาดที่จะทำผ่านสื่อดิจิตอลไว้ 40-45% ของงบกลางในการทำตลาดทั่วโลก จากเดิมที่ใช้เพียง 30% การที่โหมตลาดในรูปแบบนี้ เพราะผู้บริหารไมโครซอฟท์เชื่อว่าสื่อประเภทนี้จะเข้าถึงตลาดและสร้างการรับรู้ให้กลุ่มเป้าหมายได้เร็วกว่าสื่อสิ่งพิมพ์ ทั้งนี้ การทำดิจิตอล มาร์เก็ตติ้งในไทย ไมโครซอฟท์ได้นำเนื้อหาและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับวินโดวส์ 7 มาปรับและเผยแพร่แก่ผู้บริโภคชาวไทยโดยเฉพาะด้วยการสร้างเว็บไซต์พิเศษเพื่อรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวินโดวส์ 7 ผ่าน 4 ช่องทาง คือ 1.ผ่าน www.microsoft.com/thailand 2. www.windows7thailand.com ซึ่งทำขึ้นเพื่อคอนซูเมอร์โดยเฉพาะ และให้สามารถโหลดเบต้า เวอร์ชันไปทดลองใช้ก่อนได้ 3.ร่วมมือกับทวิตเตอร์ และเฟสบุ๊ก โดย การรวบรวมลิงก์ของทวิตเตอร์ http://www.twitter.com/windows7thai และ เฟสบุ๊ก www.facebook.com/windows7thaifan ไว้ด้วยกันบนเว็บไซต์สำหรับวินโดวส์ 7 4.ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยศรีปทุมในการจัดประกวดภาพวิดีโอ คลิป ซึ่งเป็นการสร้างช่องทางการตลาดอีกทาง เพราะการสร้างวิดีโอ คลิปสามารถสร้างการรับรู้ได้เร็ว นอกจากนี้ ยังจะมีการร่วมมือกับผู้ค้าไอที เช่น ถ้าซื้อเน็ตบุ๊ก หรือโน้ตบุ๊กก็จะมีการอัปเกรดวินโดวส์ 7 ให้ด้วย ซึ่งผู้บริหารไมโครซอฟท์เชื่อว่าระบบปฏิบัติการใหม่นี้จะช่วยให้ยอดขายของพีซีเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็จะมีการพัฒนาภาษาทั้งไทยและอังกฤษเพื่อเข้าถึงตลาดการศึกษาด้วย พร้อมกันนี้ ยังมีแผนจะเข้าถึงกลุ่มบล็อกเกอร์ในไทย โดยการจัดกิจกรรม Windows 7 Thai Blogger Days เพื่อให้กลุ่มบล็อกเกอร์ได้มีโอกาสมาพบปะกันและพูดคุยกันเกี่ยวกับวินโดวส์ 7 เป็นโอกาสพิเศษ โดยมีผู้เชี่ยวชาญจากไมโครซอฟท์เข้าร่วมในกิจกรรมเพื่อถ่ายทอดข้อมูลสำคัญของวินโดวส์ 7 สำหรับวินโดวส์ 7 มีกำหนดการเปิดตัวทั่วโลกในวันที่ 22 ต.ค. 2552 และจะมีการจัดงานเพื่อเปิดตัววินโดวส์ 7 อย่างเป็นทางการในไทย ในวันที่ 31 ต.ค.นี้

วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2552

วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ท่านรู้จักอะไรบ้าง

1.เมาส์
1.1เมาส์แบบ USB ส่วนใหญ่เป็นเมาส์เลเซอร์ ปัญหาส่วนใหญ่คือหาไดฟ์เวอร์ไม่ค่อยจะเจอในเครื่องรุ่นเก่า
1.2เมาส์แบบ PS2 เป็นเมาส์แบบลูกกลิ้ง สามารถทำความสะอาดลูกกลิ้งได้
1.3เมาส์แบบ Blue Tooth เป็นเมาส์ไร้สายที่ใช้สัญญาณบลูทูซในการบังคับ

2.Ram เป็นหน่วยความจำชั่วคราว ซึ้งต้องใช้ไฟเลี้ยง
2.1 DDR I พัฒนามาจาก SD Ram
2.2DDR II ปัจจุบันใช้กันมากทั้งเครื่อง PC และเครื่อง Note Book ซึ้งมีราคาถูกและสามารถหาซื้อได้ง่าย
2.3DDR III เป็นแรมรุ่นใหม่ที่มีในตอนนี้ ยังไม่ค่อยมีใช้ทั่วไปมากนัก เพราะราคาค่อนข้างแพง
2.4SD Ram เป็นแรมรุ่นเก่าที่ค่อนข้างหายากและแพง ใช้กับเครื่องรุ่นเก่าๆ เช่น Pentium
มีความเร็วหลากหลายตามราคา เช่น 128mb 256mb 512mb 1gb

3.Hard disk แบ่งเป็น2อย่าง
3.1แบบ IDE ใช้สายแพรในการส่งข้อมูล
3.2แบบSata ใช้สายSata ในการส่งผ่านข้อมูล
IDE จะส่งข้อมูลช้ากว่า Sata และสายSata จะถูกกว่าแบบ IDE

4.Key Board
4.1แบบ PS2 เป็นรุ่นเก่าส่วนใหญ่ในปัจจุบันจะเปลี่ยนมาใช้แบบ USB แล้ว
4.2แบบ USB ปัจจุบันนิยมใช้กันมากและราคาถูก
4.3แบบ Blue Tooth เป็นรุ่นใหม่ที่ใช้สัญญาณ Blue Tooth ในการส่งสัญญาณและมีราคาแพงกว่า USB

5.CD-DVD Rom มีทั้ง
5.1CD-DVD R สามารถอ่านได้อย่างเดียว
5.2CD-DVD RW สามารถอ่านและเขียนข้อมูลลงในแผ่นได้